ประวัติห้องสมุด
ห้องสมุดกรมการจัดหางานได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2537 หลังจากได้สถาปนากรมการจัดหางานเมื่อ วันที่ 23 กันยายน 2536 โครงสร้างของห้องสมุดกรมการจัดหางาน สังกัดกองวิชาการและแผนงาน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา โดยมีนายสินไชย เหรียญตระกูล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการจัดหางาน
ห้องสมุดตั้งอยู่ที่ตึก 10 ชั้นของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานขณะนั้นห้องสมุดมีพื้นที่ให้บริการน้อยมาก มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางเมตร มีทรัพยากรทั้งหมดประมาณ 500 เล่ม เนื่องจากขณะนั้นตึก 15 ชั้นอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2542 ตึกกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสร้างเสร็จห้องสมุดได้ย้ายมาอยู่ชั้นที่ 15 มีพื้นที่ประมาณ 200 ตารางเมตรซึ่งทำให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ห้องสมุดสามารถปรับปรุง วัสดุครุภัณฑ์ในการตกแต่งห้อง และสร้างบรรยากาศให้ดีขึ้น พร้อมทั้งการจัดเก็บและการค้นคว้าทรัพยากรสารนิเทศใหม่โดยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลและอื่น ๆ อีกมากมาย ในช่วงเวลานั้นห้องสมุดมีทรัพยากรฯทั้งหมดประมาณ 10,000 เล่ม ห้องสมุดเริ่มพัฒนาโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกท่านที่เห็นความสำคัญของการให้ความรู้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปดังนั้นการเสนอโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการก็จะได้รับการสนับสนุนจนทำให้ห้องสมุดมีเงินงบประมาณปีละ148,000 บาทในการจัดซื้อทรัพยากรฯ และต่อมาได้ทำโครงการปรับปรุงห้องสมุดกรมการจัดหางานถ สู่ระบบอัตโนมัติ (โครงการจ้างผู้ว่างงานจากวิกฤติเศรษฐกิจภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ) ถ ทำให้ห้องสมุดได้ลูกจ้าง 5 คน มาสนับสนุนทำให้ห้องสมุดเปลี่ยนแปลงระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือถ ระบบทศนิยมดิวอี้มาเป็นการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบ ILO THESAURUS โดยนำระบบดังกล่าวถ มาจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ระบบนี้เป็นการจัดหมวดหมู่หนังสือที่เน้นด้านแรงงานถ โดยเฉพาะ การค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้รวดเร็วและสะดวกกว่าการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือขององค์การแรงงานระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 19 หมวด
ต่อมาได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้โดยการนำระบบ CDS/ISIS มาใช้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2541 สามารถค้นหาข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ได้แต่ไม่สะดวกมากนัก ดังนั้นจึงได้คิดทำระบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลงานด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดอย่างต่อเนื่องและครบวงจร แล้วเชื่อมต่อระบบกับผู้ใช้ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย และโทรคมนาคมทำให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นและเรียกข้อมูลที่ต้องการ โดยการอ่านเนื้อหาบางส่วนจากสารบัญ โดยการสั่งบันทึก(SAVE) หรือพิมพ์ และหากต้องการข้อมูลวิชาการไปใช้ในอ้างอิงในรูปแบบผลงานวิชาการทั้งเล่ม (FULL TEXT) ก็สามารถนำข้อมูลที่ต้องการไปใช้ โดยผ่านระบบอินทราเน็ต(INTRANET) จนถึงปัจจุบัน
สถานที่ตั้ง
การจัดหมวดหมู่ ILO Thesaurus
หมวด |
หมวดภาษาไทย |
หมวดภาษาอังกฤษ |
01 |
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
INTERNATIONAL RELATIONS |
02 |
การพัฒนาสังคม |
SOCIAL DEVELOPMENT |
03 |
การพัฒนาเศรษฐกิจ |
ECONOMIC DEVELOPMENT |
04 |
กฎหมาย สิทธิมนุษยชน รัฐบาล และการเมือง |
LAW, HUMAN RIGHTS, GOVERNMENT AND POLITICS |
05 |
สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม มนุษยศาสตร์ และศิลปะ |
SOCIAL SCIENCES, CULTURE, HUMANITIES AND ART |
06 |
การศึกษาและการฝึกอบรม |
EDUCATION AND TRAINING |
07 |
การพัฒนาชนบท เกษตรกรรม การทำป่าไม้และการประมง |
RURAL, DEVELOPMENT, AGRICULTURE, FORESTRY AND FISHING |
08 |
อุตสาหกรรม |
ACTIVITES ECONOMICS |
09 |
การค้า |
TRADE |
10 |
การขนส่ง |
TRANSPORT |
11 |
การเงิน |
FINANCING |
12 |
การจัดการ หรือ การบริหาร |
MANAGEMENT |
13 |
แรงงาน และการจ้างงาน |
LABOUR AND EMPLOYMENT |
14 |
ประชากร ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและการอพยพย้ายถิ่น |
POPULATION, RACE RELATIONS AND MIGRATION |
15 |
สุขภาพ และความปลอดภัย |
HEALTH AND SAFETY |
16 |
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
ENVIRONMENTAL SCIENCES |
17 |
วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก |
EARTH SCIENCES |
18 |
การวิจัยกับวิทยาศาสตร์ |
RESEARCH AND SCIENCE |
19 |
ห้องสมุดและความรู้ที่เป็นระบบข้อมูล(ศาสตร์สนเทศ) |
LIBRARY AND INFORMANTION SCIENCE |
ประเภทของทรัพยากรสารนิเทศ
รหัส |
ประเภทของทรัพยากรสารนิเทศ |
AN |
ประกาศคำสั่ง |
AS |
กฤตภาค |
AV |
โสตทัศนวัสดุ |
C |
เอกสาร |
CH |
เด็ก |
FI |
นวนิยาย |
I |
ข้อมูลข่าวสาร |
M |
หนังสือ |
MC |
เอกสารชุด |
MR |
หนังสืออ้างอิง |
MT |
ผลงานการวิจัย |
N |
หนังสือพิมพ์ |
RE |
สำรอง |
S |
วารสาร |
SI |
ดัชนีวารสาร |
TH |
วิทยานิพนธ์ |
ระเบียบการใช้